ความรู้เกี่ยวกับโรคไต |
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต |
การบำบัดทดแทนไต |
การปลูกถ่ายไต |
วารสารมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย |
โครงการปลูกถ่ายไต |
ประวัติการก่อตั้ง
|
ย้อนหลังไปก่อนกำเนิดมูลนิธิโรคไตโรคไตแห่งประเทศไทย ในระยะนั้นการเยียวยารักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยโรคไตได้พัฒนารุดหน้าไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการนำเอาวิทยาการ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ทันสมัยมาทำการรักษาผู้ป่วยโรคไตเพิ่มขึ้น โดยจะเห็นได้ว่ามีการใช้เครื่องไตเทียม และการผ่าตัดเปลี่ยนไตแก่ผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายเป็นอย่างดี สามารถยืดชีวิตผู้ป่วยต่อไปได้ อย่างไรก็ตามการรักษาผู้ป่วยโรคไตเป็นการรักษาที่ต้องอาศัยเวลาและเงินเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะถ้าเป็นคนยากจนแล้วย่อมมีปัญหาเป็นทวีคูณ
จริงอยู่ โรคไตนี้แม้มิใช่โรคที่จัดว่าเป็นโรคที่มีผู้ป่วยมากเป็นอันดับหนึ่งก็ตาม แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่าประชากรในภาคอีสานป่วยเป็นโรคนี้มาก แม้โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนจะได้พยายามให้การรักษาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในขณะนั้น อันประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยโรคไตโรงพยาบาลต่างๆ และกรรมการบริหารสมาคมโรคไตได้ประชุมปรึกษาหารือเพื่อก่อตั้งมูลนิธิโรคไต แห่งประเทศไทยขึ้น ตั้งแต่ปี 2519 โดยมีมติให้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา (พระนามในขณะนั้น) เป็นองค์ประธานเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2520 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ได้ทรงพระกรุณาประทานวโรกาสให้คณะผู้ก่อตั้งเข้าเฝ้า ณ วังสระปทุม พระองค์ได้ทรงซักถามรายละเอียดความเป็นมาของการก่อตั้งมูลนิธิฯ และความตั้งใจในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไตนี้ ตลอดจนแก้ไขตราสารบางตอน จนเป็นที่พอพระหฤทัย จึงทรงรับเป็นองค์ประธานของมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย นับเป็นพระกรุณาธิคุณแก่ผู้ป่วยโรคไตและทางเดินปัสสาวะอย่างสูงยิ่ง
จากนั้นคณะผู้ก่อตั้งได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2521 โดยมีเงินบริจาค 200,000.00 บาท เป็นทุนในการจดทะเบียน และได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2521 โดยมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเปิดสำนักงานมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย ณ ตึกธนาคารไทยพาณิชย์ ชั้น 1 โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2532 |